วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

IP Address คืออะไร

IP Address คืออะไร IP Address
คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ172.16.10.1 เป็นต้นมาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4 วึ่งกำหนดให้ ipaddress มีทั้งหมด32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
1. Network Address หรือ Subnet Address
2. Host Address บนเครื่อง computer ที่ใช้ TCP/IP Protocol จะมีหมายเลข IP Address กำกับอยู่ address นี้ เป็นอยู่ใน Layer
3 ของ OSI model ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Logical address) และบนเครื่อง computerไม่ว่าจะใช้ Protocol ใด ๆ ก็ตามจะต้องมีหมายเลข ที่เรียกว่า MAC Address ประจำอยุ่ที่ Network card เสมอ MAC Address นี้เป็น Hardware Address ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยน Network card
Class ของแต่ละ IP Address
คำถาม: ทำไมต้องแบ่งเป็น Classต่าง ๆ เพื่ออะไร เพื่อความเป็นระเบียบไงครับ ทางองค์กรกลางที่ดูแลเรื่องของ IP Address จึงได้มีการจัด Class หรือ หมวดหมู่ของ IP Addressไว้ทั้งหมด 5 Class โดย Class ของ Address จะเป็นตัวกำหนดว่า Bit ใดบ้างใน หมายเลข IP Addressที่ต้องถูกใช้เพื่อเป็น Network Address และ Bit ใดบ้าง ที่ต้องถูกใช้เป็น Host Address นอกจากนั้น Class ยังเป็นตัวกำหนดด้วยว่า จำนวนของ Network Segment ที่มีได้ใน Class นั้น ๆ มีเท่าไร และจำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมีได้ ภายในNetwork Segment นั้น ๆ มีเท่าไร
Class D Class นี้จะไม่ถูกนำมาใช้กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่จะถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application Multicast คือ เป็นการส่งจากเครื่องต้นทางหนึ่งไปยัง กลุ่ม ของเครื่องปลายทางอีกกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่ใช่ ทุกเครืองใน Network Segment นั่น ๆ
วิธีสังเกต ว่า IP Address นี้อยู่ Class อะไร
• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 1-126 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class A (IP address 127 นั่น จะเป็น Loopback Address ของ Class นี้น่ะครับหรือ ของคอมท่านเอง )• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 128-191 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class B• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 192-223 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class C• ส่วน 224 ขึ้นไปจะเป็น Multicast Address ที่กล่าวไว้ข้างต้น
ส่วน IPv6. สามารถตามมาดูข้อมูลได้ที่นี้น่ะครับDownload : IPv6 Pdf file ได้ตรงนี้ครับ (Version ภาษาไทยด้วยน่ะครับ)Reference :http://www.ipv6.nectec.or.th/articles.phphttp://www.ipv6forum.com/

ระบบเครือข่ายเบื้องต้น

ระบบเครือข่ายเบื้องต้น (Fundamental Computer Networks)
มนุษย์เริ่มรู้จักการสื่อสารข้อมูลมานานแล้ว ตั้งแต่โบราณเรารู้จักใช้จดหมายผูกไปกับนกพิราบสื่อสาร พัฒนามาเป็นการใช้โทรเลข การพูดคุยทางโทรศัพท์ และในที่สุดก็พัฒนาเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นเอง การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันนอกจากจะเพื่อการสื่อสารข้อมูลกันแล้ว ประโยชน์ที่ได้คือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสื่อสารข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับส่วนประกอบหลายส่วนผู้ใช้จำเป็นต้องศึกษาแนวคิด และหลักการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นแนวคิดด้านการสื่อสารข้อมูล (Concept of networks layers)ปัญหาของการสื่อสารข้อมูลก็คือทำอย่างไรจะให้อุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ สื่อสารกันได้อย่างอัตโนมัติ เนื่องจากมีความแตกต่างกันด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการสื่อสารแบบต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งอาจจะอยู่คนละส่วนของโลก โดยมีสื่อกลางคืออุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายที่มาจากผู้ผลิตหลายบริษัท แนวคิดนี้เององค์กรว่าด้วยเครื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard Organization-ISO) จึงได้วางมาตรฐานโปรโตคอลไว้เป็นระดับ เพื่อให้การสื่อสารต่างๆ ยึดหลักการนั้นและเรียกมาตรฐานโปรโตคอลนี้ว่า OSI Protocol โดยวางเป็นระดับ 7 ชั้น
1.ชั้น Physical เป็นการอธิบายคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น คุณสมบัติทางไฟฟ้า และกลไกต่างๆ ของวัสดุที่ใช้เป็นสื่อกลาง ตลอดจนสัญญาณที่ใช้ในการส่งข้อมูล คุณสมบัติที่กำหนดไว้ในชั้นนี้ประกอบด้วยคุณลักษณะทางกายภาพของสาย, อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connector) ระดับความต่างศักย์ของไฟฟ้า (Voltage) และอื่นๆ เช่น อธิบายถึงคุณสมบัติของสาย Unshield Twisted Pair (UTP) เป็นต้น
2.ชั้น Data-Link เป็นชั้นที่อธิบายถึงการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง ชั้นนี้ยังได้ถูกแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (Sub-Layer) คือ Logical Link Control (LLC) และ Media Access Control (MAC) การแบ่งแยกเช่นนี้จะทำให้ชั้น LLC ชั้นเดียวสามารถจะใช้ชั้น MAC ที่แตกต่างกันออกไปได้หลายชั้น ชั้น MAC นั้นเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับแอดเดรสทางกายภาพอย่างที่ใช้ในมาตรฐานอีเทอร์เน็ตและโทเคนริง แอดเดรสทางกายภาพนี้จะถูกฝังมาในการ์ดเครือข่ายโดยบริษัทผู้ผลิตการ์ดนั้น แอดเดรสทางกายภาพนั้นเป็นคนละอย่างกับแอดเดรสทางตรรกะ เช่น IP Address ที่จะถูกใช้งานในชั้น Network เพื่อความชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์ของการใช้ชั้น Data-Link
3.ชั้น Network ในขณะที่ชั้น Data-Link ให้ความสนใจกับแอดเดรสทางกายภาพ แต่การทำงานในชั้น Network จะให้ความสนใจกับแอดเดรสทางตรรกะ การทำงานในชั้นนี้จะเป็นการเชื่อมต่อ และการเลือกเส้นทางนำพาข้อมูลระหว่างเครื่องสองเครื่องในเครือข่ายชั้น Network ยังให้บริการเชื่อมต่อในแบบ "Connection Oriented" อย่างเช่น X.25 หรือบริการแบบ "Connectionless" เช่น Internet Protocol ซึ่งใช้งานโดยชั้น Transport ตัวอย่างของบริการหลักที่ชั้น Network มีให้คือ การเลือกเส้นทางนำพาข้อมูลไปยังปลายทางที่เรียกว่าRouting ตัวอย่างของโปรโตคอลในชั้นนี้ประกอบด้วย Internet Protocol (IP) และ Internet Control Message Protocol (ICMP)
4.ชั้นTransport ในชั้นนี้มีบางโปรโตคอลจะให้บริการที่ค่อนข้างคล้ายกับที่มีในชั้น Network โดยมีบริการด้านคุณภาพที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่ในบางโปรโตคอลที่ไม่มีการดูแลเรื่องคุณภาพดังกล่าวจะอาศัยการทำงานในชั้น Transport นี้เพื่อเข้ามาช่วยดูแลเรื่องคุณภาพแทน เหตุผลที่สนับสนุนการใช้งานชั้นนี้ก็คือ ในบางสถานการณ์ของชั้นในระดับล่างทั้งสาม (คือชั้น Physical Data-Link และ Network) ดำเนินการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม การจะเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพให้กับผู้ใช้บริการก็ด้วยการใช้ชั้นTransportนี้ “Transmission Control Protocol (TCP) เป็นโปรโตคอลในชั้น Transport ที่มีการใช้งานกันมากที่สุด
5.ชั้น Session ทำหน้าที่สร้างการเชื่อมต่อ การจัดการระหว่างการเชื่อมต่อ และการตัดการเชื่อมต่อคำว่า "เซสชัน" (Session) นั้นหมายถึงการเชื่อมต่อกันในเชิงตรรกะ (Logic) ระหว่างปลายทางทั้งสองด้าน (เครื่อง 2 เครื่อง) ชั้นนี้อาจไม่จำเป็นต้องถูกใช้งานเสมอไปอย่างเช่นถ้าการสื่อสารนั้นเป็นไปในแบบ "Connectionless" ที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ เป็นต้น ระหว่างการสื่อสารในแบบ "Connection-less" ทุกๆ แพ็กเก็ต (Packet) ของข้อมูลจะมีข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปลายทางที่เป็นผู้รับติดอยู่อย่าง สมบูรณ์ในลักษณะของจดหมายที่มีการจ่าหน้าซองอย่างถูกต้องครบถ้วน ส่วนการสื่อสารในแบบ "Connection Oriented" จะต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ หรือเกิดเป็นวงจรในเชิงตรรกะขึ้นมาก่อนที่การรับ/ส่งข้อมูลจะเริ่มต้นขึ้น แล้วเมื่อการรับส่งข้อมูลดำเนินไปจนเสร็จสิ้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อที่จะตัดการเชื่อมต่อลง ตัวอย่างของการเชื่อมต่อแบบนี้ได้แก่ การใช้โทรศัพท์ที่ต้องมีการกดหมายเลขปลายทาง จากนั้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างของระบบจนกระทั่งเครื่องปลายทางมีเสียงดังขึ้น การสื่อสารจะเริ่มขึ้นจริงเมื่อมีการทักทายกันของคู่สนทนา จากนั้นเมื่อคู่สนทนาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวางหูก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างที่จะตัดการเชื่อมต่อลงชั้น Session นี้มีระบบการติดตามด้วยว่าฝั่งใดที่ส่งข้อมูลซึ่งเรียกว่า "Dialog Management" Simple Mail Transport Protocol (SMTP) File Transfer Protocol (FTP) และ Telnet เป็นตัวอย่างของโปรโตคอลที่นิยมใช้ และมีการทำงานครอบคลุมในชั้น Session Presentation และ Application
6.ชั้น Presentation ให้บริการทำการตกลงกันระหว่างสองโปรโตคอลถึงไวยากรณ์ (Syntax) ที่จะใช้ในการรับ/ส่งข้อมูล เนื่องจากว่าไม่มีการรับรองถึงไวยากรณ์ที่จะใช้ร่วมกัน การทำงานในชั้นนี้จึงมีบริการในการแปลข้อมูลตามที่ได้รับการร้องขอด้วย
7.ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของแบบจำลอง ISO/OSI เป็นชั้นที่ใช้บริการของชั้น Presentation (และชั้นอื่นๆ ในทางอ้อมด้วย) เพื่อประยุกต์ใช้งานต่างๆ เช่น การรับ-ส่งอีเมล์) การโอนย้ายไฟล์ หรือการประยุกต์ใช้งานทางด้านเครือข่ายอื่นๆ

windows Server 2003

Windows Server 2003
Windows Server 2003 R2 ได้ขยายขอบเขตของระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม โดยการจัดเตรียมวิธีการที่ประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อรองรับการบริหารและควบคุมการเรียกใช้ทรัพยากรแบบโลคอลและรีโมท แถมยังผสานการทำงานกับสภาพแวดล้อม Windows Server 2003 ที่มีอยู่เดิมได้โดยง่ายอีกด้วย Windows Server 2003 R2 สามารถทำงานเป็นเว็บแพลตฟอร์มที่ขยายระบบได้และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่าเดิม แถมยังรองรับการทำงานแนวทางใหม่ๆอาทิเช่นการบริหารเซิร์ฟเวอร์ตามสาขาที่ทำได้ง่ายขึ้น ระบบบริหารตัวตนและการเรียกใช้ระบบที่ดีกว่าเดิม รวมทั้งมีระบบบริหารระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นอีกด้วย บทความที่อยู่ในหน้านี้จะพูดถึงจุดเด่น คุณสมบัติใหม่ๆ และการปรับปรุงต่างๆที่เกิดขึ้นใน Windows Server 2003 R2
จุดเด่นต่างๆ Windows Server 2003 R2
ได้รับการพัฒนาโดยอิงกับระบบรักษาความปลอดภัย เสถียรภาพ และประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมของ Windows Server 2003 Service Pack 1 (SP1) ดังนั้น Windows Server 2003 R2 จึงมีระบบเชื่อมต่อที่กว้างขวางยิ่งขึ้น แถมยังควบคุมทรัพยากรแบบโลคอลและรีโมทได้ดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย องค์กรต่างๆจะได้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายที่ลดลง และประสิทธิภาพที่เพิ่มสูงขึ้นผ่านทางระบบบริหารและระบบควบคุมทรัพยากรที่ดีขึ้นกว่าเดิมทั่วทั้งองค์กร ช่วยให้การบริหารเซิร์ฟเวอร์สาขาทำได้ง่ายขึ้น Windows Server 2003 R2 ช่วยให้คุณยังคงประสิทธิภาพ ความพร้อมในการให้บริการ และความสามารถในการเพิ่มผลผลิตของเซิร์ฟเวอร์สาขาแบบโลคอลเอาไว้ไปพร้อมๆกับหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโซลูชันเซิร์ฟเวอร์สาขาอาทิเช่น ข้อจำกัดเรื่องการสื่อสาร และความยุ่งยากในการบริหารเป็นต้น
ระบบบริหารตัวตนและการเรียกใช้ระบบที่ดีขึ้นกว่าเดิม Windows Server 2003 R2 มีบริการ Active Directory Federation Services ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลระบบแก้ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารตัวตนโดยการทำให้องค์กรแลกเปลี่ยนข้อมูลตัวตนของผู้ใช้ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ภายในขอบเขตการรักษาความปลอดภัยที่กำหนดเอาไว้ นอกจากนั้น Windows Server 2003 R2 ยังเตรียมระบบปรับความสอดคล้องรหัสผ่านของยูนิกซ์ ซึ่งเป็นการผสานการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ที่ Windows และยูนิกซ์เข้าด้วยกัน โดยการทำให้ขั้นตอนการดูแลรหัสผ่านทำได้ง่ายขึ้นลดค่าใช้จ่ายในการบริหารระบบจัดเก็บข้อมูล Windows Server 2003 R2 มีเครื่องมือรุ่นใหม่ๆที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้เรียกดูระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดที่ศูนย์กลางได้ สามารถวางแผน จัดสรร และดูแลระบบจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีระบบเฝ้าระวังและทำรายงานที่ดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
เว็บแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบ Windows Server 2003 R2 ช่วยให้ธุรกิจต่างๆขยายขอบเขตการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานของตนเองผ่านทางเว็บ พร้อมกับลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและบริหารผ่านทางการทำงานของ Windows Server 2003 SP1, x64 Editions, Windows SharePoint Services, .NET Framework 2.0 และ Internet Information Servers 6.0 ที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมระบบเซิร์ฟเวอร์เวอร์ชวลไลเซชันที่คุ้มค่า Windows Server 2003 R2 Enterprise Editioin (EE) จะช่วยให้คุณสั่งงาน Windows Server 2003 R2 EE แบบเวอร์ชวลได้ถึง 4 ชุดในเซิร์ฟเวอร์จริงหรือฮาร์ดแวร์พาร์ทิชันเพียงชุดเดียว ด้วยเหตุนี้ค่าใช้จ่ายของเซิร์ฟเวอร์เวอร์ชวลไลเซชันจะลดลง

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

คำสั่งอื่นๆ

คำสั่งอื่นๆ
1. at นั้นมีไว้สำหรับสั่งการให้โมเด็มซ้ำสตริงคำสั่งสุดท้าย โมเด็มจะ ปฏิบัติตามคำสั่งทันทีที่พิมพ์เครื่องหมาย/ ไม่จำเป็นต้องป้อนคำเติมหน้าคำสั่ง
2. cpio ต้องการชื่อเต็ม (full pathname) ดังนั้นถ้าผู้ใช้ทำการอ้างชื่อ ไดเรกทอรีปลายทางแบบ relative
3. bc คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linuxรูบแบบการใช้งาน bc [-lwsqv] [option] [file]ตัวอย่าง bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก หมายเหตุ:คำสั่งนี้จะใช้ได้ต้องInstall Packet ลงไปก่อน
4.basename เป็นคำสั่งสำหรับสกัดเอาชื่อไฟล์ไฟล์โดยตัดส่วนขยายชื่อไฟล์ (file extension) .gif ออก
5. last เป็นคำสั่งที่จะทำให้ loop หยุดทำงานและออกมาจาก loop ทันที
6. crontab มีไว้เพื่อการตั้งเวลาทำงานคำสั่งหรือโปรแกรมล่วงหน้า ตามเวลาที่ ผู้ใช้ต้องการ แต่การเปิดอนุญาติเช่นนี้อาจสร้างปัญหาให้แก่ระบบ
7. dd ใช้สำหรับจัดย่อหน้าสำหรับคำอธิบาย
8. du แสดงการเนื้อที่ใช้งาน ของแต่ละ directory โดยละเอียด. ช่วยให้ผู้ดูแล ระบบรู้ว่า directory ใด ใช้เนื้อที่ใด หรือใช้ดูรวม ๆ
9. dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname
10. ln เป็นคำสั่งไว้สร้าง link ไปยังที่ ที่ต้องการ คลายกับ shortcut
11. env แสดงค่า environment ปัจจุบัน
12. eject คำสั่ง EJECT เป็นคำสั่งให้นำคำสั่งที่ตามหลังคำสั่ง EJECT ไปขึ้นหน้าใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้แต่ละส่วนของโปรแกรมใหญ่ๆ ขึ้นหน้าใหม่ ส่วนคำสั่ง EJECT จะไม่ปรากฏใน Assembly Listing
13. exec ที่ใช้ในการแทนค่าตัวแปรแล้วรันคำสั่งแบบพลวัต (dynamicly) บันทึกพฤติกรรมของ exec ไว้
14. free แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ โครงสร้างคำสั่ง free [-b-k-m] โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ -b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte -k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte -m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyteตัวอย่าง free free -b free -k
15.groups
16. hostname คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่ตัวอย่าง hostname
17. lp
18. mount คำสั่ง mount ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ)รูบแบบการใช้งาน mount (-t type) DeviceDriver MountPointตัวอย่าง# การ Mount แบบที่1 CdRom mount -t iso9660 /dev/cdrom /mnt/cdromหรือ# mkdir /mnt/cdrom# mount_cd9660 /dev/cd0a /mnt/cdrom#การ Mount CdRom แบบที่2 mount /dev/cdrom (เมื่อmountแล้วCDจะอยู่ที่ /mnt/CdRom ยกเลิกดูคำสั่ง Unmount)
19. mt คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux ... คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อ ของระบบ Unix,Linux
20.nice คำสั่งหรือโปรอกรมเข้าสู่เครื่อง .... ติดต่อ nice หรือ ติดต่อผู้บริหารเว็บไซต์ + Powered by KnowledgeVolution
21. nohup
22. netstat จะแสดงเป็นตัวเลข IP ยากต่อการเดา และการดูจริงๆคุณต้องสังเกตที่ port ที่เครื่องคุณด้วยว่าเป็น port ที่ใช้ทำอะไร
23. od แสดงเนื้อหาในไฟล์ไบนารี่
24. pr คือส่วนหนึ่งของภาษา HTML. คุณสามารถใช้ BBCode ในข้อความที่คุณพิมพ์. และคุณสามารถยกเลิกการใช้ BBCode ในแต่ละข้อความได้ในแบบฟอร์มกรอกข้อความ. BBCode มีรูปแบบคล้ายๆกับภาษา HTML
25. df คำสั่ง df ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์)รูบแบบการใช้งานdf [option] [file]ตัวอย่าง df [Enter]
26. printf รับค่าตัวแรกเป็นข้อความที่จัดรูปแบบการแสดงผล และรับรายการของข้อมูลที่ต้องการแสดงผลถัดไป. รูปแบบการแสดงผลจะถูกระบุโดยเครื่องหมาย % ตามด้วยอักษรแสดงรูปแบบ. ในกรณีนี้ %d ระบุว่าเราจะพิมพ์ตัวเลขฐานสิบ
27. df คำสั่ง df ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์)รูบแบบการใช้งานdf [option] [file]ตัวอย่าง df [Enter]
28. printenv คำสั่งนี้จะแสดงค่าตัวแปลสภาพ แวดล้อม. ตัวอย่าง:. -เซ็ตค่าตัวแปรสภาพแวดล้อม. จะใช้คำสั่ง ‘setenv’
29. pg เป็นคำสั่งใช้แสดง content ของไฟล์ ทั้งหมดทีละจอภาพ ถ้าต้องการแสดงหน้า ถัดไป ต้องกด แป้น enter; รูปแบบ. pg filename
30.Quotaคือ จำนวนไฟล์ที่ที่ระบบจะเริ่มเตือนในช่อง timeleft
31. rlogin ใช้เพื่อเปิดการเชื่อมต่อ ด้วย rlogin. rsh. ใช้เพื่อ execute คำสั่งแบบ Remote (การใช้คำสั่งทำงานบน Host อื่นแบบ Remote)

คำสั่เกี่ยวกับการติดต่อสื่สาร

คำสั่งเกี่ยวการติดต่อสื่อสาร
1. telnet ใช้ติดต่อเข้า server ต่าง ๆ ตาม port ที่ต้องการ แต่ ปัจจุบัน server ต่าง ๆ ปิดบริการ telnet แต่เปิด SSH แทน
2. ftp คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ )รูบแบบการใช้งาน ftp (IP or Name of FTP Server)ตัวอย่าง ftp 132.209.1.2 [Enter] Login:anonymous , Password: Username@YourDomain.com คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ls - ดูไฟล์ ; pwd -ดูdir. ที่อยู่ ;cd - เปลี่ยน dir ;lcd - เปลี่ยน local dir ;mput* -ส่งไฟล์ ;mget - รับไฟล์ ;bye - ออก
3. lynx เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ซึ่งทำงานด้วยข้อความล้วน ๆ ไม่สามารถแสดง รูปภาพได้ เริ่มต้นใช้งานด้วยการล้อกอินเข้าระบบด้วยยูสเซอร์
4. mesg mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminalmesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้
5. ping เป็นคำสั่งพื้นฐานในการตรวจสอบการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องส่งและ เครื่องรับ โดยจะส่งข้อมูลหรือแพ็คเกจขนาด 32K
6. write คำสั่งใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้นรูปแบบคำสั่ง write user [tty] เมื่อมีการพิมพ์คำสั่ง write ผู้ใช้จะเห็นข้อความซึ่งจะแสดงว่าข้อความดังกล่าวถูกส่งมาโดยใคร ซึ่งหากผู้รับต้องการตอบกลับ ก็จะต้องใช้คำสั่ง write เช่นกัน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้พิมพ์ตัวอักษร EOF หรือ กด CTRL+C เพื่อเป็นการ interrupt ทั้งนี้ข้อความที่พิมพ์หลังจาก write จะถูกส่งหลังจากการกด Enter เท่านั้น

ตัวอย่าง write m2k

คำสั่งสำรองข้อมูล

คำสั่งสำรองข้อมูล
1.คำสั่ง tarทำหน้าที่ขยายไฟล์แอพพลิเคชั่นและชุดแพคเกจ
รูปแบบการใช้งาน tar <พารามิเตอร์> <ไฟล์>
ตัวอย่าง tar -xvf test.tar
จัดเก็บไฟล์ให้รวมกันไว้ที่เดียว
2.คำสั่ง gzipทำหน้าที่บีบอัดไฟล์
รูปแบบการใช้งานgzip <พารามิเตอร์> <ไฟล์ > <พารามิเตอร์>
ตัวอย่างการใช้gzip star.txt star.zip filename.tar.gz ใช้ unzip ไฟล์ผลที่ได้จะเป็น filename.tar
3.คำสั่งgunzip คือขยายไฟล์ที่บีบไว้
รูปแบบการใช้งานgunzip <พารามิเตอร์> <ไฟล์ > <พารามิเตอร์>
ตัวอย่างการใช้งานgunzip star.zip

คำสั่งเกี่ยวการจัดการโปรเซส

คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการโปรเซส
1. ps แสดง Process หรือโปรแกรมที่ประมวลผลอยู่ในระบบขณะนั้น. ช่วยให้ผู้ดูแล ระบบ ติดตามได้ว่ามีโปรแกรมอะไรที่ไม่ถูกต้อง run อยู่ หรือโปรแกรมอะไร
2. kill คำสั่ง kill ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับยกเลิก Process)รูปแบบการใช้งาน kill [option] (process ID)ตัวอย่าง ps -A ดูหมายเลขที่ช่อง PIDของProcess ที่ต้องการลบ Kill -9 nnn แทนnnnด้วยหมายเลขPID -9 คือบังคับฆ่าให้ตาย
3. fg เป็นทางที่สามในการส่ง Signals ให้แก่ process โดยการใช้ kill system call ซึ่งเป็นวิธีในการส่ง signal จาก 1 process ไปยังที่อื่น ๆ โดยสามารถใช้ได้ทั้ง “kill command” หรือ “fg command” ก็ได้ โดยต้องมีการ include signal.h ด้วย จึงจะสามารถใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ได้เช่น kill เป็นต้น ซึ่ง process จะหยุดการทำงานของตัวเองโดย การส่ง PID ตัวเองไปให้ฟังก์ชัน ใน signal.h จัดการ ดังตัวอย่างการเรียกใช้ฟังก์ชัน kill ในโปรแกรม
4. bg
5. jobs คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)รูบแบบการใช้งาน jobsตัวอย่าง #sleep 20 & jobs